เมนู

ครอบงำ เพราะทรงประกอบด้วยเวสารัชชะ พระองค์จึงทรงครอบงำคนอื่น
ได้. ความสำเร็จแห่งสัตถุสัมปทา (ของพระองค์) มีได้เพราะพละทั้งหลาย
ความสำเร็จแห่งศาสนสัมปทามีได้เพราะเวสารัชชะทั้งหลาย. อนึ่ง ความสำเร็จ
แห่งพุทธรัตนะมีได้เพราะพละทั้งหลาย ความสำเร็จแห่งธรรมรัตนะมีได้
เพราะเวสารัชชะทั้งหลาย. นี้เป็นการแสดงเพียงแนวทางการขยายความของ
บททั้งสองที่ว่า ภควตา อรหตา ในที่นี้.

เหตุผลที่กล่าว วุตฺตํ ไว้สองครั้ง


ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา
ไว้แล้ว จึงกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้อีกเล่า ? ตอบว่า ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ
ไว้อีก ก็เพื่อแสดงความแน่นอน โดยปฏิเสธการได้ฟังตามกันมา. เหมือน
อย่างว่า คนบางคนได้ฟังมาจากคนอื่นแล้วพูด ถ้าว่าเรื่องนั้นคนอื่นนั้นมิได้พูด
เอง คือ คนอื่นนั้นมิได้พูดเอง เพราะมีคนอื่นพูดไว้อีกทีหนึ่ง และเรื่องนั้น
คนอื่นนั้น ก็มิได้พูดเองโดยที่แท้ ได้ฟังมาอีกต่อหนึ่งฉันใด ในที่นี้หาเป็น
ฉันนั้นไม่. เป็นความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงสดับมาจากบุคคลอื่น
ตรัสสิ่งที่พระองค์ทรงบรรลุด้วยพระองค์เอง ด้วยพระสยัมภูญาณ เพราะเหตุ
นั้น เพื่อแสดงความแปลกกันของ วุตฺตํ สองคำนี้ ท่านจึงได้กล่าวคำว่า วุตฺตํ
ซ้ำถึงสองครั้ง. มีคำอธิบายดังนี้ว่า ก็ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ก็แลข้อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเองตรัสไว้ หาใช่ผู้อื่นกล่าวไว้ไม่เลย หา
ใช่พระองค์ได้ทรงสดับ ต่อมาจากคนอื่นไม่. จริงอยู่ การกล่าวซ้ำย่อมช่วย
ให้เข้าใจความหมายของกันและกันเพราะเหตุนั้น จึงไม่มีข้อเสียหายในเพราะ
การกล่าวซ้ำ. แม้ในที่แห่งอื่นจากที่นี้ก็มีนัย อย่างเดียวกันนี้.

อนึ่ง ที่ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้ซ้ำถึงสองครั้ง ก็เพื่อแสดงว่าไม่มี
การรจนาไว้ก่อน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมได้เหมาะแก่
อัธยาศัยของบริษัทที่มาประชุมกัน เพราะทรงมีปฏิภาณเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
เหตุที่ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่มีกิจรจนาเตรียมไว้ก่อน เปรียบเหมือน
ทานเป็นต้น ก็รจนา (แสดง) ไปตามเหตุการณ์. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดง
คำนี้ไว้ว่า ก็เรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้ว ก็แลเรื่องนั้นหาได้
ทรงประมวลมาด้วยตักกะ คิดไตร่ตรองไว้ก่อนด้วยอำนาจการรจนาไว้ก่อนไม่
โดยที่แท้แล้ว พระองค์ตรัสขึ้นมาอย่างฉับพลัน เหมาะสมแก่อัธยาศัยของ
เวไนยสัตว์เลยทีเดียว.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้สองครั้งก็เพื่อแสดงว่าพระ
ดำรัสไม่มีใครปฏิวัติได้. เป็นความจริง พระดำรัสใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้แล้ว ก็เป็นอันตรัสแล้วทีเดียว ใคร ๆ ไม่สามารถจะคัดค้านพระดำรัส
นั้นได้ เพราะอักขระสมบูรณ์ และอรรถก็สมบูรณ์ด้วย. สมจริงดังคำที่ท่าน
กล่าวไว้ดังนี้ว่า ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เป็น
ไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี สมณะหรือพราหมณ์
จะปฏิวัติไม่ได้. ท่านกล่าวไว้อีกข้อหนึ่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือ
พราหมณ์พึงมากล่าวในที่นี้ว่า ทุกข์ใดที่พระสมณโคดมบัญญัติไว้ ทุกข์นี้ไม่
ใช่อริยสัจ ข้อที่เราตถาคตจักเว้นทุกขอริยสัจนี้แล้ว บัญญัติทุกข์อื่นว่า เป็น
อริยสัจ ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ดังนี้เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า
วุตฺตํ ไว้สองครั้ง ก็เพื่อแสดงว่าพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มี
ใครปฏิวัติได้.

อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้สองครั้งก็เพื่อจะแสดง
ภาวะที่จะให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้ฟังทั้งหลาย. เป็นความจริง บุคคลผู้มิใช่
สัพพัญญูไม่รู้อาสยะเป็นต้น ของบุคคลเหล่าอื่น กล่าวคำใดไม่ถูกเทสะหรือไม่
ถูกกาละ คำนั้นแม้จะเป็นคำจริง ก็ไม่ชื่อว่ากล่าวไว้เลย เพราะไม่สามารถใน
อันให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้ฟังทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงคำที่ไม่จริงเล่า. แต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบอาสยะเป็นต้นของบุคคลเหล่าอื่น เทสะ
กาละ และความสำเร็จประโยชน์อย่างถูกต้องทีเดียว เพราะพระองค์ทรงเป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสพระดำรัสใดไว้ พระดำรัสนั้น ก็ชื่อว่าตรัส
ไว้เสร็จแล้วทีเดียว เพราะให้สำเร็จประโยชน์ตามทีประสงค์แก่ผู้ฟังทั้งหลาย
โดยส่วนเดียว การอ้อมค้อมแห่งพระดำรัสนั้นไม่มี เพราะพระองค์มิได้ตรัส
ไว้. เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้สองครั้งก็เพื่อจะแสดงภาวะที่
จะให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้ฟังทั้งหลายด้วย.
อีกประการหนึ่ง คำที่มีความหมายที่ใคร ๆ เข้าใจไม่ได้ และคำที่
ใคร ๆ ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้นไม่ได้ ไม่ชื่อว่าฟังเสร็จแล้วฉันใด คำที่
ใคร ๆ รับด้วยดีไม่ได้ ได้ชื่อว่ากล่าวแล้วฉันนั้น. ก็บริษัท 4 รับพระดำรัส
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดีแล้ว พากันปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้สองครั้งเพื่อแสดงว่าพระดำรัส
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า สาวกรบไว้ด้วยดีทีเดียว.
อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้สองครั้งเพื่อแสดงว่าพระ
ดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ขัดแย้งกับพระอริยเจ้าทั้งหลาย. เหมือน
อย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมแยกประเภท เป็นกุศล อกุศล
สาวัชชะ(มีโทษ) และอนวัชชะ(ไม่มีโทษ) ปวัตติ(ความเป็นไป) นิวัตติ
(ความหมุนกลับ) สมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ ไม่คลาดเคลื่อน ฉันใด

แม้พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระธรรมเสนาบดีเป็นต้นก็ฉันนั้น เมื่อพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม ปรินิพพานแล้วก็ตาม ก็กล่าวคล้อย
ตามเทศนาของพระองค์ หาได้มีวาทะเป็นต่าง ๆ กัน ในเทศนานั้นไม่. เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสไว้
แล้ว ในกาลย่อมาจากนั้น แม้พระอริยสงฆ์ผู้เป็นพระอรหันต์ก็กล่าวไว้. ท่าน
กล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้อย่างนั้น (ซ้ำสองครั้ง) ก็เพื่อจะแสดงว่าพระดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ขัดแย้งกับพระอริยเจ้าทั้งหลายดังพรรณนาฉะนี้.
อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้สองครั้งก็เพื่อแสดงว่า
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีนัยอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ตรัสไว้. แม้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องชาติ โคตร และ
จำนวนอายุเป็นต้น แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ไม่มีความแตกต่างกันด้วย
พระธรรมเทศนา เหมือนกับที่ไม่ทรงมีความแตกต่างกันด้วยพระคุณมีทสพล-
ญาณเป็นต้น. พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสไม่ขัดกันเองและตรัสคำหน้าไม่ขัด
แย้งกับคำหลังด้วยพระองค์เอง เพราะเหตุนั้น จึงสมด้วยคำที่ท่านกล่าวไว้
ดังนี้ว่า พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย และพระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทั้งหลาย
ในปัจจุบันตรัสไว้แล้วด้วยพระองค์เองเมื่อก่อนเป็นฉันใด พระผู้มีพระภาค-
เจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ก็ตรัสคำนี้ไว้ฉันนั้น. ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้สอง
ครั้งเพื่อแสดงว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า มีนัยเดียวกับที่พระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ตรัสไว้ และมีนัยเดียวกับที่พระองค์เองตรัสไว้ในพระสูตร
อื่น ๆ ดังพรรณนามาฉะนี้. ความไม่ขัดแย้งกันแห่งเทศนาของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ในที่ทุกแห่งเป็นอันท่านแสดงไว้แล้วด้วยคำนั้น.

อีกประการหนึ่ง คำว่า วุตฺตํ คำที่สองพึงเห็นว่าเป็นคำพูดถึงภาวะ
คือ ความยิ่งใหญ่. มีอธิบายดังนี้ว่า ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว
ได้แก่คำพูดที่จะกล่าวต่อไปนี้มีอาทิว่า เอกธมฺมํ ภิกฺขเว พระผู้มีพระภาค-
เจ้า
ผู้พระอรหันต์ตรัสไว้แล้ว. อีกประการหนึ่ง คำว่า วุตฺตํ นี้ หมายถึง
พูดถึงบทที่สองอีกบทหนึ่ง โดยที่แท้พึงเห็นว่า มีความหมาย หมายถึงการพูด
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงไว้อย่างนี้ว่า ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว
ก็แลคำนั้นไม่ใช่สักแต่ว่าตรัสไว้แล้ว คือ ไม่ใช่สักแต่ว่าทรงบอกไว้แล้ว โดย
ที่แท้ทรงแสดงถึงกุศลมูลของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย.
อีกประการหนึ่ง คำว่า วุตฺตํ ที่เป็นบทที่สองนี้ มีความหมายว่า
ประพฤติ. ก็บทนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระ
อรหันต์ตรัสไว้แล้ว ก็แลคำนั้น ไม่ใช่เพียงแต่สักว่าตรัสไว้แล้ว ที่แท้คำนั้น
ทรงบำเพ็ญ คือ ทรงประพฤติจนเกิดประโยชน์. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงแสดง
ไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีปกติตรัสอย่างใด ก็มีปกติทำอย่างนั้น. อีก
ประการหนึ่ง มีความหมายว่า (คำนั้น) เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า คือ
ผู้ควรเรียกว่าพระอรหันต์ตรัสไว้แล้ว. อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ
(คำแรก) ไว้ หมายถึงการทรงยกขึ้นแสดงถ้อยคำแต่โดยย่อ. กล่าวคำว่า วุตฺตํ
ไว้ซ้ำอีกหมายถึงการแสดงขยายถ้อยคำโดยพิสดาร. เป็นความจริง พระผู้มี
พระภาคเจ้า
ทรงแสดงธรรม ทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดาร.
อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา ไว้แล้ว
ก็กล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้ซ้ำอีก ก็เพื่อแสดงว่าไม่มีคำพูดที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ไม่ดี. เป็นความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละโทษทุกอย่างพร้อมทั้ง

วาสนา (ความเคยชิน) ไว้แล้ว มีครรลองแห่งคำพูดไม่ผิดพลาดจึงไม่มีคำพูดที่
ไม่ดีแม้ในกาลไหน ๆ เพราะพระองค์ทรงมีวจีกรรมอันคล้อยตามพระญาณอยู่
ตลอดเวลา. เหมือนอย่างว่า คนบางพวกในโลก พูดอะไร ๆ ออกไปเพราะ
คะนองหรือเพราะความสนุกสนาน เนืองจากเผลอสติ ต่อมา รู้ตัวก็ทำคำพูด
ที่พูดไปแล้วตอนก่อนให้เป็นอันไม่ได้พูด ปรับปรุงคำพูดบ้าง ไม่ปรับปรุง
บ้างเป็นฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเป็นฉันนั้นหามิได้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระทัยมั่นคงอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์
มีความไม่เผลอสติเป็นธรรมดา และมีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เมื่อจะ
ทรงประกาศอริยสัจ 4 ซึ่งเป็นสวนานุตแอริยะ มีสาระที่น่าสดับให้เป็นเหมือน
โปรยฝนอำมฤตแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้กำลังสดับอรรถที่น้อมนำเข้าไปด้วย
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา อันพระสัพพัญญุตญาณประคับประคองแล้ว อันเป็น
โสตายตนะและรสายตนะ เพราะกรณวิญญูอันพิเศษที่ผ่องใสและบริสุทธิ์ ซึ่ง
ไม่ทั่วไปแก่บุคคลอื่น เกิดมาจากบุญสมภาร อันสั่งสมไว้แล้วตลอดกาล
ประมาณไม่ได้ได้ตรัสพระดำรัสเหมาะแก่อัธยาศัยของเวไนยสัตว์ ด้วยภาษาที่
เหมาะแก่สภาวะด้วยพระสุรเสียงที่ก้องกังวาลดังเสียงร้องของนกการเวก. ใน
พระดำรัสนั้น ไม่มีความผิดพลาดแม้เพียงปลายขนทราย แล้วโอกาสที่จะตรัส
พระดำรัสไม่ดีจักมีมาแต่ไหน ? เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงว่า คำใดที่พระผู้มี
พระภาคเจ้า
ตรัสไว้แล้ว คำนั้นก็เป็นอันตรัสแล้วทีเดียว ไม่มีพระดำรัสที่ไม่
ได้ตรัสไว้หรือตรัสไว้ไม่ดีในกาลไหน ๆ ท่านจึงกล่าวว่า ก็คำนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้า
ตรัสไว้แล้ว ดังนี้แล้ว กล่าวไว้อีกว่า พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว
เพราะเหตุนั้นในที่นี้จึงไม่มีโทษแห่งคำที่กล่าวซ้ำอีก. พึงทราบว่า ศัพท์ที่
กล่าวซ้ำไว้มีประโยชน์ในที่นี้ดังพรรณนามาฉะนี้.

อธิบาย อิติศัพท์


อิติ

ศัพท์นี้ ในบทว่า อิติ เม สุตํ นี้ แตกต่างกันโดยความหมาย
เป็นอเนกมีอาทิว่า ความหมายว่า เหตุ ความหมายว่า ปริสมาปันนะ ความ-
หมายว่า เป็นเบื้องต้น ความหมายว่า ปทัตถปริยายะ (ขยายความหมายของบท)
ความหมายว่า ปการะ (ประการ) ความหมายว่า นิทัสสนะ ความหมายว่า
อวธารณะ. จริงอย่างนั้น อิติ ศัพท์นั้น ปรากฏในความหมายว่า เหตุ
ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่เรียกว่า รูป เพราะเหตุที่
แตกสลายแล. ปรากฏในความหมายว่า ปริสมาปันนะ. ในประโยคเป็นต้นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ขอเธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของ
เราตถาคตในพระศาสนานี้เถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย เราตถาคตมีความ
อนุเคราะห์ในเธอทั้งหลาย ทำอย่างไร สาวกทั้งหลายของเราตถาคตจะพึงเป็น
ธรรมทายาท ไม่พึงเป็นอามิสทายาท. ปรากฏความหมายว่า เป็นเบื้องต้น
ในประโยคเป็นต้นว่า งดเว้นจากการดู การฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคม
ดนตรีที่เป็นข้าศึกอย่างนี้ คือ เห็นปานนี้เป็นเบื้องต้น . ปรากฏในความหมายว่า
ปทัตถปริยายะ ในประโยคเป็นต้นว่า คำว่า มาคันทิยะ เป็นชื่อ เป็นสมัญญา
เป็นบัญญัติ เป็นโวหาร เป็นนาม เป็นการตั้งนาม เป็นนามไธย เป็นภาษา
เป็นพยัญชนะ เป็นคำร้องเรียกพราหมณ์นั้น. ปรากฏในความหมายว่า ปการะ
(ประการ) ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีภัยเฉพาะหน้า
บัณฑิตไม่มีภัยเฉพาะหน้า คนพาลมีอุปัทวะ บัณฑิตไม่มีอุปัทวะ คนพาล
มีอุปสรรค บัณฑิตไม่มีอุปสรรค ด้วยประการดังพรรณนามานี้แล. ปรากฏ
ในความหมายว่า นิทัสสนะ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนกัจจานะ ความเห็น
ที่ว่า มีอยู่แล ก็เป็นที่สุดโต่งอันหนึ่ง ดูก่อนกัจจานะ ความเห็นที่ว่า ไม่มีแล
ก็เป็นที่สุดโต่งอันหนึ่ง. ปรากฏในความหมายว่า อวธารณะ อธิบายว่า ในการ